ปัญหาในการจัดการมรดก
ปัญหาในการจัดการกับทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งความรับผิดชอบต่างๆ ที่เราเรียกโดยรวมว่า กองมรดก ของผู้ที่ถึงแก่ความตายหรือสาบสูญนั้น ถือได้ว่ามีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน ทำให้ในแต่ละปีมีการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก เนื่องเพราะเมื่อบุคคลใดตายหรือสาบสูญไปย่อมมีปัญหาว่าทายาทผู้ตายหรือสาบสูญ ซึ่งมีสิทธิที่จะเป็นผู้รับมรดกจะจัดการอย่างไรกับทรัพย์มรดกเหล่านั้น และกองมรดก เหล่านั้นอาจหมายถึง ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดซึ่งไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เช่น กรรมสิทธิ์ในบ้าน รถยนต์ บัญชีเงินฝากในธนาคาร อาวุธปืน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ เป็นต้น
หากท่านมีปัญหา ทางสำนักงานสายัณห์ทนายความมียินดีที่จะช่วยดำเนินการเรื่องดังกล่าวแก่ท่านครับ
โปรดติดต่อ สำนักงานสายัณห์ทนายความ 080 6789197 ครับ
ทำอย่างไรเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา
ผู้ต้องหาหรือจำเลย คือผู้ถูกกระทำโดยผลของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะควบคุม ประชาชน หรือพลเมือง ให้เกิดความสงบสุข โดยผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นตำรวจ หรือศาล คำว่า “ผู้ต้องหา” หมายถึงบุคคลที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมและดำเนินคดี แต่ถ้าเป็นจำเลย หมายถึงผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องศาลแล้ว
เมือท่านตกเป็นผู้ต้องหา ท่านก็มีกฎหมายคุ้มครองท่านในฐานะผู้ต้องหา คือมีสิทธิและหน้าที่ เรามาดูเรื่องสิทธิก่อนครับ มีอะไรบ้าง
1. มีสิทธิที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมเกินความจำเป็น เช่นความผิดเล็กน้อย หมายถึงความลหุโทษ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเอาตัวท่านไปใส่โซ่ตรวน หรือจับเข้าห้องขัง ต้องดูที่ข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจนะครับ
2. ท่านมีสิทธิจะให้การ หรือไม่ให้การก็ได้ ตำรวจจะบังคับให้เราให้การไม่ได้ ถ้าเราไม่ยินยอมให้การ ตำรวจจะบันทึกไว้ว่า “ผู้ต้องหาไม่ยอมให้การ”
3. เจ้าพนักงานตำรวจจับท่านมาแล้ว ต้องแจ้งข้อกล่าวหาทันที ถ้าไม่แจ้งท่านมีสิทธิโต้แย้งให้ตำรวจแจ้งข้อหาให้ท่านทราบก่อน
4. เจ้าพนักงานตำรวจจะข่มขู่ หรือจูงใจให้เราให้การไม่ได้
5. ก่อนที่จะดำเนินการสอบสวน พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งเตือนว่า “ถ้อยคำที่ให้การนั้นสามารถใช้ยังตัวท่านในการฟ้องคดี”
6. กรณีที่พนักงานสอบสวน ดำเนินการสอบสวนไม่ชอบ หรือล่าช้า ผู้ต้องหามีสิทธิร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา ถ้าพนักงานสอบสวนฝากขังท่านที่ศาลแล้ว ท่านมีสิทธิแถลงให้ศาลทราบว่า การสอบสวนล่าช้า ศาลก็จะไต่สวนและสั่งว่าพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิขังเราต่อไปได้
7. ท่านมีสิทธิได้รับการประกันตัว
8. ท่านมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งที่พนักงานสอบสวน ศาล ไม่อนุญาติให้ประกันตัวต่อศาลอุทธรณ์
9. ถ้าพนักงานสอบสวน หรืออัยการฝากขัง หรือผัดฟ้องต่อศาล ผู้ต้องหามีสิทธิแถลงคัดค้านคำร้องของตำรวจ หรืออัยการที่ขอฝากขัง
10. ท่านมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความสองต่อสอง (อันนี้สำคัญเพราะเมื่อทนายความเข้าไปในคดีตั้งแต่แรก การดำเนินกระบวนจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะทนายความช่วยท่านได้)
11. ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
12. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยด่วน เมื่อเกิดการเจ็บป่วย (ช่องทางนี้ผู้ต้องหาใช้กันเยอะครับ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม)
หมายเหตุ ถ้าหากท่านยังมีปัญหาสามาถติดต่อสอบถามได้ที่เรา สำนักงานสายัณห์ทนายความ โทร 0806789197 ครับ
Rules of Texas Court
รอปรับปรุง
All knowledge, it is said, comes from experience, but does that not mean that the more we experience, the wiser we become? If wisdom is the understanding of life, then should we not chase every experience we can, taste every flavor, walk every path, and embrace every feeling? Perhaps the greatest tragedy is to live cautiously, never fully opening oneself to the richness of being.
Man is said to seek happiness above all else, but what if true happiness comes only when we stop searching for it? It is like trying to catch the wind with our hands—the harder we try, the more it slips through our fingers. Perhaps happiness is not a destination but a state of allowing, of surrendering to the present and realizing that we already have everything we need.